กฎหมายในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นแบบกฎหมายชาวบ้าน ซึ่งก็คือเป็นกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นจากเหตุผลธรรมดาของสามาัญสำนึกของคน หรือก็คือเป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของมนุษย์นั่นเอง โดยกฎเกณฑ์เช่นว่านี้จะมีพื้นฐานมาจากแนวความคิดทางด้านศีลธรรม
สำหรับหลักฐานที่ระบุเรื่องราวในสมัยสุโขทัยนั้นจะปรากฎใน "หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง" นับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้เราทราบสภาพสังคม วิถีชีวิตรวมทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ
โดยกฎหมายไทยในสมัยสุโขทัยเท่าที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก มีดังนี้
สำหรับหลักฐานที่ระบุเรื่องราวในสมัยสุโขทัยนั้นจะปรากฎใน "หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง" นับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้เราทราบสภาพสังคม วิถีชีวิตรวมทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ
โดยกฎหมายไทยในสมัยสุโขทัยเท่าที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก มีดังนี้
1. กฎหมายว่าด้วยเสรีภาพในการค้าขาย อาณาจักรสุโขทัยให้เสรีภาพในการค้าอย่างเต็มที่ ไม่มีการผูกขาดสินค้าแต่อย่างใด ดังปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกว่า “...เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า...”
2. การเก็บภาษีผ่านด่านภายในประเทศ อาณาจักรสุโขทัยไม่เก็บภาษีระหว่างทาง หรือภาษีผ่านด่าน ซึ่งก่อนหน้านี้อาจจะมีการเก็บภาษีประเภทนี้ เพราะถ้าไม่มีการเรียกเก็บเหตุใดจึงต้องมีข้อบัญญัติให้ยกเลิกหรืองดเว้น ดังปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกว่า “...เจ้าเมืองบ่อเอาจกอบในไพร่ลู่ทาง...”
3. กฎหมายมรดก ในสมัยโบราณเมื่อครั้งมนุษย์รวมกันเป็นหมู่เหล่าได้มีข้อบัญญัติว่า ผู้ใดก็ตามที่หาทรัพย์สินมาได้ให้ไว้เป็นส่วนรวม ไม่อาจตกทอดถึงลูกหลานได้ ข้อบัญญัตินี้มีข้อเสียทำให้มนุษย์ขาดความกระตือรือร้นในการทำมาหากิน จะหาทรัพย์ให้พอกินไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น เป็นเหตุให้เศรษฐกิจไม่รุ่งเรือง ไม่มั่นคง จึงได้ยกเลิกข้อบัญญัติดังกล่าว และทำให้เกิดธรรมเนียมประเพณีให้ลูกหลานสามารถรับมรดกของผู้ตายสืบต่อๆ กันมา ส่วนรายได้ของอาณาจักรใช้วิธีเก็บภาษีแทน
4. กฎหมายว่าด้วยลักษณะตุลาการ ตุลาการในอาณาจักรสุโขทัยต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
4.1 ต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม โดยไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
4.2 ต้องไม่ยินดีอยากได้ของของผู้อื่น
5. กฎหมายระหว่างประเทศ ข้อความในหลักศิลาจารึกเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศปรากฏ ดังนี้
5.1 ถ้าเมืองใดมาอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น ก็จะให้ความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือดังปรากฏในข้อความหลัก ศิลาจารึกว่า “...คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่วยเหลือเฟื้อกู้...”
5.2 ผู้ที่มาอ่อนน้อมไม่มีช้าง ม้า ผู้คนชายหญิง เงินทองก็ให้ช่วยเหลือไปตั้งบ้านเมือง ดังปรากฏในข้อความหลักศิลาจารึกว่า “...มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงือนบ่มีทองให้แก่มัน ช่วยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง...”
5.3 อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อมีชัยชนะแก่ข้าศึกหรือจับเชลยได้พระองค์ทรงพระกรุณาไม่ให้ลงโทษหรือไม่ให้ฆ่า ดังปรากฏในข้อความหลักศิลาจารึกว่า “...ได้ข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี...”
6. กฎหมายว่าด้วยสิทธิในที่ดิน เป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองและรับรองสิทธิในทรัพย์สินมิให้ผู้ใดมาแย่งชิง
สำหรับวิธีถวายฎีกานั้นเนื่องจากสมัยสุโขทัยปกครองในระบอบ "พ่อปกครองลูก" หรือ "ปิตา่ธิปไตย" ดังนั้นประชาชนที่เดือดร้อนสามารถร้องทุกข์ต่อ"พ่อ"หรือ "กษัตริย์" โดยสั่นกระดิ่งที่ประตูวัง หลังจากนั้นกษัตริย์จะทรงตัดสินคดีโดยพระองค์เอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น